พระอรหันต์เมืองไทย

ความจริงของพระอรหันต์และพระอรหันต์เมืองไทย

พระอรหันต์มี 4 แบบ คือ
1. สุขวิปัสสโก หมดกิเลสแล้ว แต่ไม่มีความรู้พิเศษ เห็นผีเห็นเทวดาไม่ได้ ได้แต่ปลงสังขาร ให้อารมณ์หยุดอยาก คือ ไม่อยากเกิด ไม่อยากมี ไม่อยากเอาดีกับชาวโลก เพราะเห็นว่าเมื่อยังเกิด ตราบใด ก็ยังต้องทุกข์ตราบนั้น ท่านเลยเบื่อเกิด ทั้งเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม ท่านไม่เอาด้วยทั้งนั้น สิ่งที่ท่านต้องการก็คือ พระนิพพาน

2. พระอรหันต์ที่เรียกว่า เตวิชโช คือ ท่านทรงวิชชาสาม ได้แก่
- ทิพยจักขุญาณ มีอารมณ์จิตเป็นทิพย์ รู้เรื่องราวต่าง ๆ ทั้งอดีตและอนาคต ท่านรู้ได้คล้ายตาทิพย์
- อันดับที่สอง สามารถระลึกชาติ ในอดีตได้ทุกชาติที่ท่านเกิดมาแล้ว
- สาม ท่านละกิเลสหมดทุกอย่างเหมือนท่านสุกขวิปัสสโก

พระอรหันต์อันดับที่ 3 ได้แก่ท่านผู้ทรง อภิญญา 6 คือ
- แสดงฤทธิ์ได้ทุกอย่าง เพราะอำนาจกสิณ
- มีหูทิพย์ เพราะอำนาจกสิณ
- มีทิพยจักขุญาณ
- มีปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้
- รู้ความรู้สึกนึกคิดของคนและสัตว์ได้
- ทำกิเลสให้สิ้นไป

พระอรหันต์ประเภทที่ 4 ท่านมีอำนาจฤทธิ์เหมือนท่านผู้ทรงอภิญญา แต่มีญาณพิเศษกว่า คือ มีปัญญาฉลาดเฉียบแฉลม สามารถคิดคำนวณพยากรณ์เหตุการณ์ทุกอย่างได้โดยฉับพลัน มีฤทธิ์คล่องแคล่วกว่าอภิญญา 6 ท่านอันดับที่ 4 นี้แหละ ที่ท่าน ปิณโฑลภารทวาชะ และท่านโมคคัลลาน์ ท่านทรงได้



ได้บรรยายเรื่องพระอรหันต์พอให้ท่านผู้อ่านทราบไว้เพียงย่อ ๆ จะได้ไม่เข้าใจผิด เพราะคนส่วนมากก็คิดว่าพระอรหันต์จะต้องเป็นพระมีฤทธิ์เหมือนกันหมดทุกองค์ ความจริงพระอรหันต์ไม่ใช่จะมีฤทธิ์มีเดชเหมือนกันหมดตามที่บอกมาแล้ว

การเดินทางเข้าสู่พระอรหันต์หรือพระอรหัตตมรรคนี่
อันดับแรกก็ตัด รูปราคะ อรูปราคะ คือ ใช้ปัญญาพิจารณาว่า รูปฌานก็ดี อรูปฌานก็ดี เป็นเพียงแค่กำลังหวังมรรคผลในการตัดกิเลสเท่านั้น เราจะไม่หลงจมอยู่เฉพาะรูปฌาน หรืออรูปฌาน จะทำความดีต่อไป

ความจริงเป็นพระอนาคามีแล้ว ตัวนี้ไม่ต้องตัดก็ได้นะ มันไม่มีอะไรเกาะ แต่ถ้าพูดกันตามแบบก็ต้องพูด มันเป็น อนุสัย คือ กิเลสเบามาก พระอรหัตตมรรคนี่เป็นการตัดกิเลสจุ๋มจิ๋ม ไม่ใช้กำลังหนัก ไปหนักแค่อนาคามี ต่อมาก็ตัด มานะ การถือตัวถือตน การถือตนว่าเราดีกว่าเขา เราเลวกว่าเขา เราเสมอเขา นี้ยกยอดไปจากจิต คิดว่าคนก็แค่คน สัตว์ก็แค่คน มันแค่กันหรือเปล่า สัตว์บางทีก็สูงกว่าคนนะ อย่างแมลงวันจับบนหัวเรา

คำว่าแค่กัน หมายความว่า ทุกอย่างต่างก็ธาตุ 4เหมือนกัน รักสุขเกลียดทุกข์เหมือนกัน ถ้าเราจะเกลียดสัตว์ ก็จงนึกว่าสัตว์กับเรามีอะไรแตกต่างกันบ้าง
1. เนื้อ สัตว์มีไหม 2. กระดูก มีไหม 3. เลือด เนื้อ มีไหม
เรามีเหมือนสัตว์หรือเปล่า สัตว์กับเรามีสภาพเหมือนกันคือ มีธาตุ 4 เหมือนกัน ร่างกายสกปรกเหมือนกันใช่ไหม



อรหัตตมรรคเข้าไปตัด อุทธัจจะ คือ อารมณ์ฟุ้งซ่าน
คือ ความฟุ้งซ่านของจิตน่ะ พระอรหัตตมรรคกับปุถุชนนี้ไม่เท่ากันนะ ปุถุชนอารมณ์ฟุ้งซ่านในด้านอกุศลมีมาก จิตคิดในด้านอกุศลมีอยู่ ภาวนาไปบ้าง พิจารณาไปบ้าง ดีไม่ดีภาวนาไป ๆ นึกถึงใครที่ไม่ชอบใจ เลยกลายเป็นภาวนาด่าไปเลย อันนี้มันฟุ้งซ่านเป็นอกุศลได้

ถ้าจิตเข้าถึงพระโสดาบัน จิตนึกไม่ชอบใจยังมีอยู่ แต่จิตคิดประทุษร้ายจริง ๆ ไม่มี ถ้าถึงพวกสกิทาคามี จิตคิดประทุษร้ายจะหายาก โกรธมาปั๊บ โกรธเบามาก แล้วก็หายเร็ว ที่เรียกว่า อภัยทาน ไม่ผูกอาฆาต นี่เรียกว่า พระสกิทาคามี

พอถึงพระอนาคามี อารมณ์จิตที่มันฟุ้งซ่านเข้ามาอารมณ์จิตอกุศลไม่มี จิตคิดทำลายเขาไม่มี มีแต่คิดว่ากูเป็นอนาคามีนี่วะ พักแค่นี้ก็ได้ ตายไปเป็นเทวดาหรือพรหม ฉันตีตั๋วต่อเลย อันนี้มีบ้าง ไม่มาก

พอถึงอรหันตตมรรคก็ในลักษณะเดียวกัน ทำไป ๆ เห็นร่างกายมันไม่ดี ปวดบ้าง เมื่อยบ้าง เป็นโน่นบ้าง เป็นนี่บ้าง เอ๊ย เราก็เป็นพระอนาคามีแล้วนี่โว้ย เรื่องเล็ก ๆ น่ะ นอนพักผ่อนเสียได้ ตายเมื่อไรเป็นเทวดา พักหน่อยค่อยไปนิพพาน

อารมณ์พระอรหันต์ นั่นก็คือ คิดว่าไม่หลงในรูปฌาน และอรูปฌาน จิตไม่มีมานะ การถือตัวถือตน จิตไม่มีอารมณ์ฟุ้งซ่านออกนอกรีตนอกรอย จิตไม่ติดในอวิชชา คือ ฉันทะ กับ ราคะ ฉันทะ ความพอใจเห็นว่ามนุษย์โลกเทวโลก พรหมโลกไม่มี ราคะ จิตเห็นว่ามนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก สวยไม่มี ไม่พอใจใน 3 โลก จิตพอใจจุดเดียว คือ นิพพาน


รายนามพระอรหันต์เมืองไทยดังต่อไปนี้  ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานนุญาตกล่าวเอ่ยมาเพื่อเป็นธรรมะทานแก่ญาติสาธุชน  ไม่ได้มีเจตนาอื่นใดในทางที่เสียหาย  หากลูกหลานกล่าวรายนามพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่ท่านสำเร็จอรหันต์ไม่ครบประการใด  ก็ขอกราบประทานอภัยไว้ ณ  ที่นี้ด้วย
(ครูบ้านนาขาโคก)

รายนามพระอรหันต์เมืองไทย

1.ท่านอาจารย์เจี๊ยะ จุนโท (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
วัดป่าภูริทัตปฏิปทาราม อ.สามโคก จ.ประทุมธานี

2.หลวงปู่ลี กุสลธโร
วัดภูผาแดง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

3.หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร
วัดป่าประชาชุมพลพัฒนาราม อ.เมือง จ.อุดรธานี

4.หลวงปู่ขาล ฐานวโร (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
วัดป่าบ้านเหล่า อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย

5.พระอาจารย์แบน ธนากโร
วัดดอยธรรมเจดีย์ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร

6.หลวงปู่หลวง กตปุญโญ (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
วัดคีรีสุบรรพต จ.ลำปาง

7.อาจารย์เหรียญ วรลาโภ (มรณภาพแล้วยังไม่ประชุมเพลิง)
วัดอรัญบรรพต อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

8.อาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย (มรณภาพแล้วยังไม่ประชุมเพลิง)
วัดเขาสุกิม อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

9.หลวงปู่หลอด ประโมทิโต
วัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนานิคม) เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร

10.หลวงปู่มหาเนียม สุวโจ
วัดเจริญสมณกิจ (หลังศาลภูเก็ต ) อ.เมือง จ.ภูเก็ต

11.หลวงปู่มหาเจิม ปัญญาพโล
วัดสระมงคล อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม

12.หลวงปู่ศรี มหาวีโร
วัดประชาคมวนาราม อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด

13.พระอาจารย์สายทอง เตชธัมโม
วัดป่าห้วยกุ่ม (ใกล้เขื่อนจุฬาภรณ์ ) อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ

14.หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป
วัดป่าประทีปปุญญาราม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร

15.พระอาจารย์ประสิทธิ์ ปุญมากโร
วัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

16.พระอาจารย์เลี่ยม ฐิตธัมโม
วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

17.หลวงปู่ทา จารุธัมโม
วัดถ้ำซับมืด จ.นครราชสีมา

18.พระอาจารย์เพียร วิริโย
วัดป่าหนองกอง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

19.อาจารย์สาย เขมธัมโม
วัดป่าพรหมวิหาร อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู

20.อาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
วัดอรัญวิเวก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

21.หลวงปู่วิริยังค์ สิรินธโร
วัดธรรมมงคล เขตพระโขนง จ.กรุงเทพมหานคร

22.อาจารย์พวง สุขินทริโย
วัดศรีธรรมมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร

23.หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต
วัดถ้ำกลองเพล อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู

24.หลวงตาแตงอ่อน กัลยาณธัมโม
วัดป่าโชคไพศาล อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร

25.หลวงปู่บุญหนา ธัมทินโน
วัดป่าโสตถิผล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

26.หลวงปุ่บุญพิน กตปุญโญ
วัดผาเทพนิมิตร อ.นิคมน้ำอูน จ.สกลนคร

27.หลวงปู่ลี ฐิตธัมโม (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
วัดเหสลึก อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

28.หลวงปู่แปลง สุนทโร
วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

29.หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
วัดป่าสันติกาวาส อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี

30.หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป
วัดโพธิ์สมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี

31.พระอาจารย์ท่อน ญาณธโร
วัดศรีอภัยวัน อ.เมือง จ.เลย

32.พระอาจารย์อุ่นหล้า ฐิตธัมโม
วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

33.พระอาจารย์คำบ่อ ฐิตปัญโญ
วัดใหม่บ้านตาล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

34.พระอาจารย์อุทัย สิรินธโร
วัดถ้ำพระ อ.เซกา จ.หนองคาย

35.หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
สำนักสงฆ์สวนทิพย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

36.พระอาจรย์วิไล เขมิโย
วัดถ้ำพณาช้างเผือก อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ

37.หลวงปู่จันทา ถาวโร
วัดป่าเขาน้อย อ.วังทรายพูล จ.พิจิตร

38.อาจารย์อ่ำ ธัมกาโม
วัดธุดงคสถานสันติวรญาณ อ.วังโป่ง จ.เพรชบูรณ์

39.หลวงปู่ถวิล
จ.อุดรธานี (ไม่ทราบที่อยู่และฉายาท่าน)

40.อาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสโก
วัดป่านาคำน้อย อ.นายูง จ.อุดรธานี

41.อาจารย์วันชัย วิจิตโต
วัดภูสังโฆ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

42.หลวงปู่มี (เกล้า) ประมุตโต
วัดดอยเทพนิมิตร (วัดถ้ำเกีย ) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

43.อาจารย์เสน ปัญญาธโร
วัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

44.อาจารย์คำแพง อัตสันโต
วัดป่าหนองวัวซอ (วัดบุญญานุสรณ์ ) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

45.พระอาจารย์ปัญญาวัฒโท (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี

42.หลวงปู่มี (เกล้า) ประมุตโต
วัดดอยเทพนิมิตร (วัดถ้ำเกีย ) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

43.อาจารย์เสน ปัญญาธโร
วัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

44.อาจารย์คำแพง อัตสันโต
วัดป่าหนองวัวซอ (วัดบุญญานุสรณ์ ) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

45.พระอาจารย์ปัญญาวัฒโท (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี

46.ท่านฤาษีลิงดำ (พระราชพรหมญาณ ) (ท่านมรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ )
วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
(หลวงปู่สิม เคยปรารภให้อาจารย์มหาบัวฟัง)

47.หลวงปู่สังวาลย์ เขมโก
จ.สุพรรณบุรี

48.หลวงปู่วัดพระพุทธบาทตากผ้า
(อันนี้หนังสือไม่ชัดครับเล่มนี้เก่ามากครับ )

49.พระอาจารย์มหาโส กัสโป
วัดป่าคำแคนเหนือ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

50.หลวงปู่คำฟอง เขมจาโร (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
วัดกุดเรือคำ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร

51.หลวงปู่บุญเพ็ง กัปโป
วัดป่าวิเวกธรรม (วัดป่าช้าเหล่างา) อ.เมือง จ.ขอนแก่น

52.หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ
วัดเกาะแก้วะดงคสถาน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์

53.คุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
สำนักชีบ้านห้สยทราย อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร

54.พระอาจารย์ทุย (ปรีดา) ฉันทกโร
วัดป่าดานวิเวก อ.โซ่พิสัย จ.หนองคาย

55.พระอาจารย์สรวง สิริปุญโญ
วัด่าศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร

56.พระอาจารย์สาคร ธัมวุธโธ
วัดป่ามณีกาญจ์ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี

57.พระอาจารย์จันทร์โสม กิตติกาโม
วัดป่านาสีดา อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

58.พระอาจารย์แยง สุขกาโม
วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก) อ.ศรีวิไล จ.หนองคาย

59.หลวงปู่แฟ็บ สุภัทโท
วัดป่าดงหวาย อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร

60.พระอาจารย์จันทร์เรียน คุณวโร
วัดถ้ำสหายธรรมจันทร์นิมิตร อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

61.หลวงปู่ผาง โกสโล
วัดภูหินแตก อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

62.หลวงปู่หล้า เขมปัตโต (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
วัดบนนพตคีรี (ภูจ้อก้อ) อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร

63.ท่านพระอาจารย์สิงทอง ธัมวโร (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

64.หลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร
วัดถ้ำประทุน ต.เขาไม้แก้ว อ.บางละมุง จ.ชลบุรี

65.หลวงปู่ต้น สุทธิกาโม
วัดบึงพลาราม ต.บ้านว่าน อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย

66.หลวงปู่สมศักดิ์ ปัณฑิโต
วัดบูรพาราม ( วัดหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์

67.หลวงปู่ทอง จันทสิริ
วัดอโศการาม ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ

68.หลวงปู่ทองใบ ปภสฺสโร
สำนักวิปัสสนาธุระ (ภูย่าอู่) บ.นาหลวง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

69.หลวงปู่คูณ สุเมโธ
วัดป่าภูทอง ต.บ้านผือ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

70.พระอาจารย์ฟัก สันติธัมโม
วัดพิชัยพัฒนาราม ( วัดป่าเขาน้อยสามผาน ) ต.สองพี่น้อง อ.ท่าใหม่
จ.จันทบุรี

71.หลวงปู่สุทัศน์ โกสโล
วัดกระโจมทอง ต.วัดชลอ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี

72.หลวงปู่อ้ม สุขกาโม
วัดภูผาผึ้ง อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร

73.ท่านพระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม
วัดป่าหนองไผ่ ต.ดงมะไฟ อ.เมือง จ.สกลนคร

74.ท่านพระอาจารย์หลอ นาถกโร
วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม ( วัดถ้ำพวง วัดพระอาจารย์วัน อุตโม ) อ.ส่องดาว
จ.สกลนคร

75.หลวงพ่อทองคำ กาญวันวัณโณ
วัดถ้ำบูชา อ.เซกา จ.หนองคาย

76.หลวงปู่ถิร ฐิตธัมโม (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
วัดทิพยรัฐนิมิตร (วัดป่าบ้านจิก) อ.เมือง จ.อุดรธานี

80.พระอาจารย์ทองอินทร์ กตปุญฺโญ
วัดป่ากุง (วัดป่าประชาคมวนาราม ) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด

81.หลวงปู่เผย วิริโย
วัดถ้ำผาปู่ ต.นาอ้อ จ.เลย

82.หลวงปู่คำพอง ขันติโก
วัดป่าอัมพวัน จ.เลย

83.หลวงปู่อว้าน เขมโก
วัดป่านาคนิมิตร อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร

84.ท่านพระอาจารย์วิชัย เขมิโย
วัดถ้ำผาจม จ.เชียงราย

85.พระอาจารย์บุญทัน ปุญทัตโต (ท่านเพิ่งจะมรณภาพ เดือน ธค.49 )
วัดป่าสามัคคีสันติธรรม อ.ฝาง จ.ขอนแก่น

86.หลวงปู่พิศดู ธรรมจารีย์
วัดเทพธารทอง ต.พลวง กิ่งอ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี

87.หลวงปู่เนย สมจิตฺโต
วัดป่าโนนแสนคำ บ.ทุ่งคำ ต.เจริญศิลป์ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร

88. หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ
วัดป่าพระอาจารย์ตื้อ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

89.ท่านพระอาจารย์อุทัย ธมฺมวโร
วัดภูย่าอู่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

90.หลวงปู่ประสาร สุมโน
วัดป่าหนองไคร้ ต.หนองหิน อ.เมือง จ.ยโสธร
91. ท่านพระอธิการ ธรรมรัติ ธัมรโต (ท่านพ่อธรรมรัติ) เจ้าอาวาสวัดชากใหญ่ จ.จันทบุรี ทางไปแหลมสิงห์ ท่านเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น สายกรรมฐาน
92. หลวงปู่พิศดู มมะจารี วัดเทพธารทอง อ.เขาคิชฌกูฎ จ.จันทบุรี - ศิษย์เอกหลวงปู่ลี ธัมมธโร องค์นี้เป็นพระอริยะสงฆ์แน่นอนเพราะเกศา เล็บ ฟัน ศิษย์นำไปบูชา เป็นพระธาตุ หลายคนแล้ว หรือแม้แต่พระเครื่องที่ไม่มีธาตุขันธ์ของท่านผสม แต่ผ่านการอธิษฐานจิตจากท่าน ยังมีพระธาตุเสด็จมาเกาะเลยครับ (อันนี้เห็นมากับตาตัวเองเลย) เห็นหลายท่านที่ส่วนใหญ่บูชาและเป็นผู้ปฏิบัติธรรม หลวงปู่พิศดูเป็นพระพิเศษ ที่ประกอบด้วยธรรมะและอภิญญาพร้อมด้วยคุณสมบัติต่างๆๆที่เหมือนปฏิสัมภิทา ผมไม่อาจจะกล่าววได้ว่าท่านใช้หรือไม่เพราะผมไม่ใช่พระพุทธเจ้าไม่สามารถ พยากรณ์ได้ครับแต่องค์นึ้ผมอยากหใทกคนไปกล่าวแล้วจะรู้ว่า องค์นี่แหละปฏิสัมภิทา
93. หลวงปู่ละมัย สำนักสงฆ์สวนสมุนไพร จ.เพชรบูรณ์
องค์นี้ทราบมาจากครูบาอาจารย์หลายท่าน เมตตาบอกให้ว่าท่านเป็นพระอรหันต์ ทรงอภิญญา สูงส่งด้วยอิทธิฤทธิ์ และบุญฤทธิ์ พิศดารสุดจะพรรณา
94. หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต สวนทิพย์ นนทบุรี

ขออานิสงส์แห่งบุญนี้จงอภิบาลประทานพรและดลบันดาลให้ญาติธรรมทุกๆท่านและครอบครัวของท่าน ทั้งหลาย จงประสบจตุรพิธพรชัยและสัมฤทธิ์ผลในสิ่งอันพึงปรารถนาทุกประการ ไร้โรคภัยไข้เจ็บมีอายุมั่นขวัญยืน เป็นผู้ที่มีแต่ความร่ำรวยโภคทรัพย์มีอายุวัฒนะอยู่เย็นเป็นสุข

จาก.....เว็บไซต์เพื่อการศึกษา  "ครูบ้านนาขาโคก"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น